รายงานจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) เปิดเผยรายงานประจำปีฉบับล่าสุดว่า ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 18.1 ล้านคนทั่วโลกภายในช่วงสิ้นปี 2018 และจะทำให้มียอดผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งพุ่งสูงถึง 9.6 ล้านคน ตัวเลขดังกล่าวนับว่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งนักวิจัยคาดว่า แนวโน้มนี้มีสาเหตุมาจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนของประชากรสูงวัยมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะอัตราผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทยมีแนวโน้มอุบัติการณ์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่เปลี่ยนไปคล้ายชาวตะวันตก หากไม่มีนโยบายคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ อย่างจริงจัง จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งย่อมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ มีพฤติกรรมดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง
- รับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำ
- บริโภคเนื้อแดง (ที่อาจมีสารเคมีเจือปน)
- กินเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำ
- รับประทานอาหารปิ้งย่าง (ไหม้เกรียม)
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์พวกผัก ผลไม้น้อย
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่ดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีประวัติหรือคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็ง
- ผู้มีปัญหาระบบขับถ่าย เช่น ลำไส้อักเสบ ท้องผูกเรื้อรัง ภาวะลำไส้แปรปรวน
ดังนั้น การปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุลอยู่จึงเป็นเรื่องสำคัญควรพยายามใช้ชีวิตให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี มีสุขภาพที่ดี โดยเริ่มจากเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากมีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว หรือมีอาการผิดปกติก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยรักษาต่อไป
บทความจาก http://www.healthandtrend.com
ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง “ใส่ใจค้นหา บำบัดรักษาโรคมะเร็งให้คุณ”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 054 335262-8 ต่อ 187 , 160





